บทคัดย่อ
แม้ว่าหลักการการให้ความสำคัญแก่พนักงานว่า “คนทำงานคือสินทรัพย์” จะได้รับความสนใจจากองค์การภาคการผลิตมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (Davenport, 2534 : 4) และในช่วงเวลาใกล้เคียงองค์การภาคพัฒนาบุคคลของไทยก็ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน โดยตราใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่า “ผู้เรียนสำคัญที่สุด” แต่ทั้งสองกลุ่มองค์การก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจปฏิบัติจริง โดยองค์การกลุ่มแรกมักสนใจแต่เฉพาะพวกพ้องของตัวเอง ส่งผลให้พนักงานเข้าออกงานบ่อย ทะเลาะวิวาทกัน ขาดความกระตือรือร้น ขาดความอดทน ขาดวินัยการทำงาน ขาดความซื่อสัตย์ (Schneiter, 2004) แต่แม้จะเกิดปัญหาดังกล่าว องค์การก็ใส่ใจพัฒนา ฝึกอบรมพนักงานน้อย โดยอยู่ในอันดับที่ 41 ของโลกในปี 2541 ในขณะที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี อยู่อันดับ 2, 6 และ 9 (สุมาลี ปิตยานนท์ 2545 : 88, 90) ส่วนองค์การกลุ่มหลังก็ยังไม่ตื่นตัวปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่เน้นการทำเอกสารรายงานหลักการ นโยบาย และการวางแผนเพื่อให้หน่วยเหนือตรวจหรือเป็นหลักฐานทางบวก แต่ขาดการปฏิบัติจริง ครูถูกบังคับให้ใช้เวลาสร้างเอกสารจนไม่มีเวลาสอนหรือตรวจงาน จึงต้องมอบหมายงานและการบ้านให้นักเรียน สร้างความบอบช้ำในการเรียนรู้ เกิดความเครียด มีพฤติกรรมรุนแรง นักเรียนได้รับผลกระทบจากหลักสูตรแฝงและหลายคนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนโดยการหนีโรงเรียนไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ chat ทาง internet หรือพูดโทรศัพท์กับเพื่อน หลายคนตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี และเมื่อจบการศึกษาก็ด้อยคุณภาพ ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความอดทน และขาดทักษะในการทำงาน ชอบแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง(Tangchuang, 2002; จารุมา อัชกุล 2543 : 310) ผลกระทบคือ นักลงทุนพากันไปลงทุนที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวันและเกาหลี ทั้ง ๆ ที่ค่าแรงในประเทศเหล่านั้นแพง แต่ประสิทธิภาพของแรงงานสูงกว่าบ้านเรามาก (ณัฐพล ชวลิตชีวินและปราโมทย์ ศุภปัญญา 2546 : VIII) จากการวิเคราะห์หลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา พบข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนยังใช้ความรุนแรงต่อกัน ในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรจะเน้นความฟุ้งเฟ้อ ฉาบฉวย ในขณะที่ด้านเนื้อหาวิชาการจะเน้นวิชาความรู้ (Cognitive Domain) ขาดเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดีหรือมีแนวคิดเชิงสันติภาพ (Affective Domain, E.Q., M.Q. ) อันได้แก่ ความอดทน ความสามัคคีในองค์การ ความตั้งใจ ทุ่มเท ริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาควรจะต้องให้ความใส่ใจและเน้นมากขึ้น (พศิน แตงจวงและคณะ 2546; Schneiter, 2004) ผู้เขียนจึงได้เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาไว้ในบทความนี้
ABSTRACT
While the concept of “workers are assets” has been globally echoed since the end of the 20th century (Davenport, 2534: 4), and in Thailand the concept of “learner-centered” involved widely popularized in educational processes following the promulgation of the National Education Act of 1999 which, among others, states that learners are most important, organizations have not effectively implemented them. For the industrial sector, the concept has mostly been practiced among close friends and relatives inevitably leading to the sense of insecurity among other workers, high rate of turnover, dishonesty, lacks of enthusiasm, discipline and preserverance. Empirical statistics revealed that Thai industrial sectors ranked 41st on training comparing to the 2nd , 6th and 9th of Japan, Singapore and Korea respectively (Pityanon, 2545 : 88,90). The situation was similar regarding education reform. Teachers were busy preparing paper work for higher authorities' inspection instead of teaching or correcting students’ works. Students were still assigned a lot of class work and homework that jeopardizes rather than enhances students learning. The hidden curriculum induces to students to skip schools to play computer games, chat with or call their friends. School graduates, thus turned out to be of low quality, lacking ethics and work skills (Tangchuang, 2002; Jaruma, 2543: 310). These issues compelled foreign investors to set up their firms in Singapore, Malaysia, Taiwan and Korea instead of Thailand no matter how high the labour costs are (Chawalitcheewin & Supanya, 2546: VIII).
Reviews of current curriculum and its implementation from elementary to tertiary levels reveal that while many of the noble objectives may have been achieved, but ethics, peace and morality (affective domain, E.Q. and M.Q.) core components instrumental to shaping tolerance, esprit de corps, enthusiasm, creativity, etc. have almost totally been missing (Tangchuang, 2546; Schneiter, 2004). Alternative education models to bridge this gap have been presented and discussed in this article.
บทนำ
แม้ว่าหลักการการให้ความสำคัญแก่พนักงานว่า “คนทำงานคือสินทรัพย์” จะได้รับความสนใจเมื่อปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (Davenport, 2534 : 4) ทำให้ทฤษฎีการบริหารคนงานของไทเลอร์ ที่มุ่งเน้นการกระตุ้นการทำงานของพนักงานด้วยการให้ค่าจ้างตามชิ้นงาน และการมองพฤติกรรมของพนักงานตามแนวคิดทฤษฎี X เพื่อจะได้กำหนดและควบคุมการทำงานของ McGregor (อ้างใน Luthans, 1977: 19) ได้รับความสนใจน้อยลง และให้ความสนใจแนวคิดแบบใหม่มากขึ้นแทนก็ตาม แต่องค์การส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจในทางปฏิบัติจริงทั้งหมด แต่มักจะสนใจเฉพาะพวกพ้องของตัวเอง โดยการสนับสนุน ให้ผลประโยชน์แก่พรรคพวกของตัวเองมากเกินไป ส่งผลทำให้พนักงานที่ถูกละเลยมีความรู้สึกว่าไม่มั่นคงในการทำงาน ขาดความเอาใจใส่ มองอนาคตไม่เห็น จึงต้องตัดสินใจเสาะแสวงหาที่ทำงานใหม่ไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนงานบ่อย ขาดความกระตือรือร้น ขาดความอดทน ขาดวินัยในการทำงาน ขาดความซื่อสัตย์ มีผลทำให้ขาดทักษะ (low skill) เงินเดือนต่ำ (low pay) และผลผลิตต่ำ (low productivity) (Mounier, 2004; ณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์ ศุภปัญญา 2546) แต่ผลจากการศึกษาปัญหาในประเด็นดังกล่าวพบว่า แม้จะเกิดปัญหาซ้ำซาก องค์การต่าง ๆ ก็ยังให้ความใส่ใจที่จะพัฒนา ฝึกอบรมพนักงานน้อย เนื่องจากคิดว่าผลของการพัฒนามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจน้อยกว่าปัจจัยดูด (pull factor) อื่น ๆ เช่น เงินค่าจ้าง กลุ่มญาติหรือกลุ่มเพื่อน ความต้องการเปลี่ยนงานเพื่อลดความจำเจ ฯลฯ (พศิน แตงจวง 2547ก) ทำให้กิจกรรมที่จะพัฒนา ฝึกอบรมพนักงานในองค์การต่าง ๆ ในประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 41 ของโลกในปี 2541 ในขณะที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ให้ความสำคัญในสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวมาก และถูกจัดอยู่อันดับ 2, 6 และ 9 ตามลำดับ (สุมาลี ปิตยานนท์ 2545 : 88, 90)
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การศึกษาไทยได้ปฏิรูปการศึกษา ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมากขึ้น โดยตราในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กำหนดให้ "ผู้เรียนสำคัญที่สุด" ให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ใช้แหล่งความรู้ในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากขึ้น และ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม นับถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการตื่นตัวในการปฏิรูปการศึกษาให้เป็นไปตามกรอบที่กำหนดไว้เท่าที่ควร (CELS, 2003) ส่วนใหญ่จะเน้นการทำหลักฐานทางบวก (อ้างในประชาคมปฏิรูปการศึกษา 2547 : 12) ทำเอกสารรายงานหลักการ นโยบาย และการวางแผนเพื่อให้หน่วยเหนือตรวจ แต่ขาดการนำไปปฏิบัติจริง (เจริญ ทะศรีแก้วและคณะ 2547) เนื่องจากครูไม่มีเวลาสอน และตรวจงาน จึงสั่งแต่การบ้านและมอบหมายงานให้นักเรียนทำ สร้างความบอบช้ำในการเรียนรู้ นักเรียนเกิดความเครียด และนักเรียนหลายคนสร้างความรุนแรงโดยการเข้าร่วมแก๊งกวนเมือง เที่ยวเตร่ยามค่ำคืน หนีไปเข้าร่วมกับกลุ่มเด็กข้างถนนหรือตั้งกลุ่มสนใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนีโรงเรียนเพื่อไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ หรือ chat ทาง internet หรือพูดโทรศัพท์กับเพื่อน และตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีในที่สุด และเมื่อจบการศึกษาก็ไม่มีคุณภาพ ทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและทักษะในการทำงาน (จารุมา อัชกุล 2543 : 310) ซึ่งอุทัย ดุลยเกษม (2547:74-75) กล่าวว่า นี่คือผลกระทบของหลักสูตรแอบแฝงที่การศึกษาไทยมอบให้ในกระบวนการพัฒนาศักยภาพบุคคล ผลสรุปในปัจจุบันคือ นักลงทุนต่างประเทศพากันไปลงทุนที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน และเกาหลี มากกว่าทั้ง ๆ ที่ค่าแรงในประเทศเหล่านั้นแพงกว่าค่าแรงในประเทศไทยมาก แต่เพราะประสิทธิภาพของแรงงานในประเทศเหล่านั้นสูงกว่าบ้านเรามาก และสิ่งที่เขาได้รับกลับคืนมามีค่ามากกว่าจ้างแรงงานราคาถูก เนื่องจากเป็นที่ยอมรับว่าการจ้างแรงงานราคาแพงกว่า มีการศึกษาสูงกว่า มีความรับผิดชอบมากกว่า ตั้งใจทำงานมากกว่าทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีการสูญเสีย (Defect) ต่ำกว่า (ณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์ ศุภปัญญา 2546 : VIII)
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ
1. แนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพและความรุนแรง และเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. ใครคือผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสันติภาพและควาอดทน
3. เพราะเหตุใดสันติภาพและความอดทนจึงได้รับความสนใจในการเสริมสร้างน้อยในระดับอุดมศึกษา
4. ตัวอย่างในการเสริมสร้างสันติภาพและความอดทนในระดับอุดมศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพและความรุนแรง
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2000) ให้นิยามความหมายของสันติภาพว่า หมายถึง การไม่ใช้ความรุนแรงใน 3 สิ่ง คือ
1. การไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น ผู้อื่นในที่นี้หมายถึง คนอื่น ชาติอื่น ลัทธิอื่นหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นอื่น เราไม่ใช้ความรุนแรงกับอะไรที่เป็นอื่น
2. การไม่ใช้ความรุนแรงต่อตัวเอง เริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คนที่ชอบสูบบุหรี่ ก็ถือว่าเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงต่อตัวเอง (รวมไปถึงการฆ่าตัวตาย ก็เป็นความรุนแรงกับตัวเอง)
3. การไม่ใช้ความรุนแรงกับสิ่งแวดล้อม เพราะในสิ่งแวดล้อมมีเครื่องดำรงชีวิตของคนอื่น ๆ รวมทั้งของตัวเราเองด้วยมากมาย ถ้าเราใช้ความรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว จะก่อให้เกิดความไม่สงบ จะทำให้ความไม่มีสันติภาพเกิดขึ้นได้
สมเกียรติ (2000) กล่าวว่า “ในทุกวันนี้ หากสังเกตจะพบว่ามีความรุนแรง ปรากฏขึ้นใน
หลายรูปแบบ ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งที่รู้สึกและไม่รู้สึก ความรุนแรงดังกล่าว เกิดขึ้นทั้งมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และมีความรุนแรงซับซ้อนขึ้นทุกวัน” ส่วนใหญ่ความรุนแรงเกิดขึ้นระหว่างคนที่อยู่ในสถานภาพทางสังคมที่ต่างกัน เช่นนักการเมืองมักชอบข่มขู่ข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำข่มขู่ประชาชนหรือไม่ก็อุ้มฆ่าหรือทำการฉ้อฉลในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการไม่ใช้ความรุนแรงไม่ได้หมายถึงการสมยอม "คนที่ไม่ใช้ความรุนแรง อาจเป็นคนที่ต่อต้านสิ่งที่ทำลายสันติภาพ หรือคุกคามสันติภาพโดยการไม่สมยอมด้วยและไม่ใช้วิธีการต่อสู้ที่รุนแรง เพราะความรุนแรงที่ปรากฏทั่วไปเป็น ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง" ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หมายความว่า เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้กระทำโดยตรง แต่เกิดจากการจัดการทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง หรือสิ่งที่ไม่ดี และทำให้บุคคลแย่ เช่น มีคนเข้าไม่ถึงแพทย์ ทั้ง ๆ ที่มีโรงเรียนแพทย์จำนวนมากที่จะให้การรักษาได้ แต่ในความเป็นจริงมีคนตาย เจ็บ พิการปีละ นับแสนคน จำนวนมากซื้อยาตามร้านค้าไปทานเพื่อระงับความเจ็บปวด และต่อมาได้กลายเป็นคนกระเพาะรั่ว เพราะเข้าไม่ถึงแพทย์ นี่คือ ตัวอย่างของความรุนแรงในเชิงโครงสร้างเพราะไม่มีใครทำกับใครโดยตรง ดังนั้น เวลาพูดถึงการศึกษาเพื่อสันติภาพจึงไม่สามารถนึกถึงแต่เพียงเนื้อหา เพราะมีความสำคัญค่อนข้างน้อย แต่ควรนึกถึงท่าที นึกถึงวิธีการจัดการศึกษาและอุดมคติที่ยัดเยียดให้ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น การตีนักเรียน หรือ การทำโทษทางร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ ตีโดยคิดว่านักเรียนจะได้ดี จะได้ทำการบ้านส่ง แต่การตีได้ขัดเกลาทำให้นักเรียนที่ถูกตีและไม่ถูกตีเข้าใจว่า “การใช้ความรุนแรงสามารถแก้ปัญหาได้” ทั้ง ๆ ที่ นักเรียนทำการบ้านส่งเพราะกลัวเจ็บ ตัวสาระหรือข่าวสารที่แทรกไปกับไม้เรียว คือการสื่อให้ทุกคนทราบว่า “ต้องใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา” สำหรับในระดับอุดมศึกษา ปรากฏการณ์ที่เห็นคือ การจัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาอาจไม่ต้องทุ่มเทกับการเรียน มีการจัดกิจกรรมแบบฟุ้งเฟ้อฉาบฉวย นักศึกษาที่สถาบันเหล่านี้ย่อมเรียนรู้ว่าคุณค่าของการศึกษาไม่สำคัญ ขอให้สอบผ่านเป็นอันใช้ได้หรือไม่ก็เรียนรู้คุณค่าของความฟุ้งเฟ้อฉาบฉวยไปด้วย (อุทัย ดุลยเกษม 2547: 74-75)
นอกจากนี้ การศึกษาที่จัดทุกวันนี้ เป็นการศึกษาเพื่อตนเอง นึกถึงคนอื่นน้อยมาก คนที่เรียนในมหาวิทยาลัยก็คิดเพียงว่า วิชาที่เรียนจะทำให้มีงานทำ สามารถทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง จะไม่มีใครเรียนโดยคิดว่า สิ่งที่เรียนเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น คนเรียนแพทย์ จะนึกถึงวิธีการรักษามากกว่าตั้งคำถามว่า ถ้าเราใช้วิธีการรักษาแบบนี้จะมีใครบ้างที่ได้รับการรักษาจากเรา ค่านิยมดังกล่าวได้แฝงความรุนแรงไว้ในระบบการศึกษา นี่ก็คือการไม่คิดถึงคนอื่น และยังไปเสริมสร้างความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่มีอยู่ให้มีความรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย
การศึกษาที่ก่อให้เกิดความรุนแรงอีกประการหนึ่งคือ การศึกษาที่ไม่พยายามเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าหากัน การศึกษาที่เน้น specialization เน้นการเอาดีเฉพาะด้าน ผู้ที่เรียนสาขาวิชาวิจิตรศิลป์ก็เน้นความเป็นช่างที่เก่งในเรื่องของศิลปะเพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจว่าสิ่งที่เรียนเชื่อมโยงกับวิชาอื่นและสังคมและจิตใจอย่างไร มันทำให้คนกลายเป็นช่างฝีมือ ช่างเขียนรูป หรือ ฯลฯ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างช่างฝีมือเฉพาะด้านจึงเท่ากับการสร้างคนเข้าไปรับใช้โครงสร้างที่รุนแรง ตราบใดที่การศึกษาไม่เชื่อมโยงช่างให้มีความรู้ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ให้มองเห็นอะไรที่กว้างกว่าเฉพาะรูที่มองหรือเรียนอยู่ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างก็จะไม่สามารถแก้ไขได้
ผู้มีส่วนสร้างความรุนแรง
ผลจากการศึกษาของพศิน แตงจวง (2541) พบข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า พฤติกรรมของเด็กที่เบี่ยงเบนไปมีแรงผลักที่เป็นปัจจัยสำคัญคือ พ่อแม่ กล่าวคือ เด็กสาวในภาคเหนือที่ต้องออกไปขายบริการทางเพศ มากกว่าร้อยละ 90 เกิดจากการถูกบีบบังคับจากพ่อแม่ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น อ้างถึงความกตัญญูกตเวที ความยากจน และการชี้ดูตัวอย่างเฉพาะผู้ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยมีเงินและบ้านหลังใหญ่ แต่งตัวสวยงาม มีของใช้มากมาย และมีหน้ามีตาในสังคมจากการขายบริการทางเพศ ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมของพ่อแม่ก็ยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะในชนบท ซึ่งปาริสุทธา สุทธมงคล (อ้างในข่าวสด 2547 : 5) ได้เปิดเผยว่า ครอบครัวที่ยากจน ในชนบทหรือในแหล่งสลัม ไม่มีที่ทำกิน มักผลักดันลูกให้ออกไปขายบริการทางเพศ และรวมถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่าพ่อลวนลาม ข่มขืนลูกสาวของตนเอง เป็นการตอกย้ำว่าพ่อแม่เป็นผู้ก่อกำเนิดความรุนแรง นอกจากนี้แนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมในการสร้างความรุนแรงให้เป็นเรื่องธรรมดาปรากฏในสุภาษิตไทยที่ว่า "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" ได้สร้างความขมขื่นกับผู้รักสันติภาพมาก กระทรวงศึกษาธิการเห็นผลกระทบของการทำโทษนักเรียน จึงได้ออกระเบียบว่า “ครูไม่มีสิทธิ์ตีนักเรียน” แต่เป็นที่น่าเสียใจที่มีครูจำนวนหนึ่งออกมาคัดค้านว่า ถ้าไม่ตีจะควบคุมนักเรียนไม่ได้ ครูซึ่งเรียนจิตวิทยามาแล้วน่าจะใช้วิธีอื่นดูแล และสร้างความสัมพันธ์กับเด็กมากกว่า การใช้อำนาจโดยการตี เช่นเดียวกับสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ผู้ดูแลมักใช้วิธีการตีเพื่อควบคุมพฤติกรรม โดยอ้างว่าผู้ดูแลเด็กก็เคยโดนพ่อตีมาก่อน และไม่เห็นว่าไม่ดีตรงไหน นั่นสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลแฝงที่มนุษย์เรียนรู้ "วัฎจักรของการตี" ว่าเมื่อพ่อตีลูกและเมื่อลูกเป็นผู้ใหญ่ ก็จะไปตีคนอื่นต่อไปเรื่อย ๆ ในประเด็นดังกล่าว หากเรายอมรับว่า "การตีเป็นการแก้ปัญหา" แนวคิดนี้จะสืบเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งนักจิตวิทยาได้ศึกษาและพบว่า “ความรุนแรงที่ผู้ใหญ่ทำกับเด็กไม่หายไป แต่จะสะสมอยู่ในตัวเด็กและเมื่อโตขึ้น เขาจะใช้ความรุนแรงนี้กับคนอื่นต่อไป”
ในมุมมองของนักปรัชญาการศึกษา ชื่อ กฤษณมูรติ (อ้างในสำนักเรียนรู้ 2547 : 20) กล่าวว่า “การศึกษาไม่ได้หมายถึงการตระเตรียมชีวิตบางช่วง (เช่นชีวิตการทำงาน) แต่เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมทั้งหมดของชีวิตมนุษย์ ขณะที่โรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งให้การศึกษาเพื่อเตรียมคนเข้าสู่อาชีพการงาน ภายใต้สังคมและวัฒนธรรมที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการอบรม สมองของนักเรียนถูกอัดแน่นด้วยข้อมูลความรู้มากมาย เพื่อนำไปแสวงหาประโยชน์ในอาชีพการงาน และมีเสถียรภาพทางด้านวัตถุ ซึ่งในสภาวะเช่นนี้มีแต่จะทำให้ผู้คนสนใจแต่ความมั่นคงส่วนตน ไม่สนใจว่าคนอื่น ๆ จะเป็นอย่างไร ตราบใดที่ตัวเองปลอดภัยอยู่” การจัดการศึกษาโดยใช้ปรัชญาการศึกษาที่ว่า "การศึกษาคือการเตรียมตัวเพื่ออาชีพ" จึงเป็นการสร้างกระแสความเห็นแก่ตัว มองไม่เห็นความสำคัญของผู้อื่น และเป็นจุดก่อตัวของความขัดแย้ง
ในขณะที่ วารุณี (2000) กล่าวเสริมว่าโครงสร้างการศึกษาได้มุ่งเน้นการแข่งขัน ทุกคนต้องการอยู่ข้างหน้า อยู่เหนือคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าระดับคะแนน (Grade) และเรื่องแพ้คัดออก คนชนะจะ ได้รับการยอมรับ ได้อยู่ข้างบน (Top) ทำให้เกิดการสร้างอัตตาในกลุ่มคน ขณะเดียวกันก็ดูถูกคนอีกกลุ่มหนึ่งว่าด้อยค่า ลักษณะการแบ่งคนโดยใช้วิธีการประเมินนี้ใช้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และยังใช้เป็นตัวกำหนดการแย่งชิงเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย (ใช้ GPA ตัดสิน) ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อจบการศึกษาแล้ว ยังต้องแข่งขันเข้าทำงานอีก จากสภาพดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่า เมื่อยิ่งแข่งขันมาก ก็จะยิ่งมีสันติภาพน้อยลง ระบบดังกล่าวเกิดจากอิทธิพลของตัวโครงสร้างของระบบการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากการศึกษาแล้ว วัฒนธรรมไทยในเรื่อง "อำนาจนิยม" มีส่วนอย่างมากที่ทำให้สันติภาพระหว่างคนเกิดขึ้นได้ยาก ตราบใดที่สังคมมีการแบ่งคนออกเป็นกลุ่ม คือกลุ่มมีอำนาจมาก และกลุ่มมีอำนาจน้อย เช่น ผู้ใหญ่มีอำนาจมากกว่าเด็ก ผู้ชายมีอำนาจมากกว่าผู้หญิง นักการเมืองมีอำนาจมากกว่าข้าราชการ ข้าราชการมีอำนาจมากกว่าประชาชน เศรษฐีมีอำนาจมากกว่ายาจก การที่ไม่ยอมรับกันในความเท่ากันของคน โครงสร้างของอำนาจเหล่านี้ทำให้เกิดความรุนแรงและยากที่สังคมจะมีสันติภาพได้
ใครคือผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสันติภาพและความอดทน
"ยิ่งวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเรามีความคล้ายคลึงกันเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งสาวลึกลงหาค่านิยมแบบเก่า ทั้งด้านศาสนา ภาษา ศิลปะ และวรรณคดี ยิ่งแนวความคิดและความเข้าใจต่อโลกภายนอกของเราใกล้เคียงกันเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งได้สัมผัสคุณค่ามหาศาลของจารีตประเพณีดั้งเดิมที่ถูกขุดค้นเอามาจากภายใน" (อ้างใน อภิแนวโน้มโลก ค.ศ. 2000, 2538: 144)
ในจดหมายข่าว Education for Peace Newsletter (2003: 6) ได้พยายามปลุกกระแสความสนใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสันติภาพเพื่อต่อต้านความรุนแรง ความแตกแยกของคนในชาติและระหว่างชาติในโลกนี้ ในบทความเรื่อง The Transformational Impact of Peace Education ของจดหมายข่าวดังกล่าวข้างต้นกล่าวอ้างถึงเด็กคนหนึ่งบรรยายสถานการณ์ในเมือง Mostar ประเทศ Bosnia and Herzegovina ว่าในสภาพของประเทศหลังสงคราม ประชาชนส่วนใหญ่เกียจชังกันอันเนื่องมาจากไม่เป็นเพราะต่างศาสนาก็ต่างเชื้อชาติ (Religion or nation) ประเทศถูกแตกแยกเพราะประเด็นเหล่านี้ การศึกษาเพื่อสันติภาพจึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องทำให้นักเรียนปรับเปลี่ยนทัศนะ ให้เกิดความเป็นมิตรต่อกัน ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่ทำการรุนแรง (non-violence) และเมื่อนักเรียนรักสงบ ความรุนแรงในโรงเรียนก็จะเบาบางลง นักเรียนก็พร้อมที่จะพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกัน เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างเสริมสันติภาพนั้น ไม่ควรแยกวิชาออกมาสอนต่างหาก เนื่องจาก “Peace is a feeling” จึงควรค่อย ๆ ใส่และขัดเกลาในทุกวิชา การสอนสันติภาพจึงไม่ควรเน้นที่ทฤษฎี (not just be a theory) ไม่ควรบังคับ (unforced) ให้นักเรียนต้องรับฟัง ท่องจำ แต่ควรฝังเข้าไปในชีวิตประจำวัน ควรได้มีการกระทำ สอนโดยการนำเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญ ๆ หรือไม่ก็ใช้การประชุมสัมมนา นักเรียนทุกคนควรเข้าร่วมกิจกรรม ให้มีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดสันติภาพในชีวิตประจำวัน สอดคล้องกับผลงานของรวีวรรณ แตงจวง (2547) ครูผู้ทำกิจกรรมพัฒนาจริยธรรม ตลอดปีการศึกษามานานกว่า 5 ปี ภายใต้ชื่อ "โครงการสานฝันน้องพี่มารยาทดีเลิศล้ำเพื่อพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนหอพระ" ด้วยการฝึกมารยาทการแสดงทำความเคารพด้วยการไหว้บุคคลระดับต่าง ๆ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากนั้นได้กำหนดให้นักเรียนไปฝึกนักเรียนรุ่นน้องและรุ่นพี่ระดับละอย่างน้อย 1 คน แล้วนำมาสาธิตให้ครูดู ผลจากการประเมินพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อกัน รู้จักกัน ให้ความเคารพกัน และที่สำคัญคือลดพฤติกรรมความรุนแรงในหมู่วัยรุ่น สภาพที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต้องไปฝึกนักเรียนรุ่นน้องให้เรียนรู้การไหว้บุคคลระดับต่าง ๆ ในที่เปิดเผยด้วยความอดทน ในขณะที่รุ่นพี่ก็มีความอดทนที่จะยอมให้รุ่นน้องฝึก หรือทบทวนวิธีการทำความเคารพเพิ่มเติม นับเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างสันติภาพที่น่าสนใจ
ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสันติภาพที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ การแก้ปัญหาของผู้ถูกกระทำเอง ดังตัวอย่างของผลการวิจัยของพศิน แตงจวง (2538) พบว่า หญิงสาวหลายคนต้องหนีออกจากบ้านไปทำงานต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับจากพ่อแม่ให้ออกไปขายบริการทางเพศ
ผลการวิจัยของ พศิน แตงจวงและคณะ (2545) เกี่ยวกับความอดทนในโรงงานอุตสาหกรรมพบว่าแม้ว่านายจ้างภาคเอกชนจะยอมรับว่าบัณฑิตส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถในระดับที่ยอมรับได้หรือสามารถพัฒนาต่อได้ แต่สิ่งที่ยากต่อการพัฒนาและแก้ไขได้ คือการขาดความอดทน อดกลั้นในการทำงาน ขาดความยับยั้งชั่งใจ มองโลกในด้านลบ และขาดความสามารถในการแก้ปัญหาในทางที่ถูกที่ควร ทำให้อัตราการย้ายงานมีปริมาณค่อนข้างสูง ต้นตอของปัญหาดังกล่าว เทอดศักดิ์ เดชธง (อ้างในกองบรรณาธิการ 2545 : 19) กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวมักเกิดกับผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ (E.Q. ต่ำ) อันเกิดจากความผิดพลาดในการใช้ปรัชญาการศึกษา อย่างไรก็ตามพศิน แตงจวง (2547) พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีผู้นำทีม (Team leader) เอาใจใส่และเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของพนักงานแล้วสร้างบรรยากาศการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน สามารถส่งเสริมสันติภาพในการทำงานและเสริมสร้างความอดทน เห็นอกเห็นใจกันของพนักงานที่ทำงานกลุ่มเดียวกัน
ยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ (อ้างในภุมริน บุญทวี 2547: 2) มองว่าครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมรุนแรงหรือไม่ เพราะครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มนุษย์รู้จัก คุ้นเคย ผ่านการอบรมเลี้ยงดูทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจจากพ่อแม่ ซึมซับเจตคติ ความคิดอ่านพื้นฐานจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
ผลกระทบที่เกิดจากการขาดสันติภาพ
ตามวิถีการทำงานของแรงงานภาคเกษตรกรรมมีลักษณะแบบพึ่งพาตนเอง (Independent workers) มีรูปแบบของความเป็นอิสระ โดยลักษณะของงานจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ไม่จำเจ ไม่มีการกำหนดเวลาเข้า - ออกงานตายตัว และมักทำงานกันในหมู่ญาติมิตรหรือชุมชนเดียวกัน รู้จักมักคุ้นกันดี พึ่งพาอาศัยกันง่าย ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่มีรายได้ไม่แน่นอน มีวิถีชีวิตแบบพออยู่พอกิน ลักษณะงานและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวได้กลายเป็นวัฒนธรรมของเกษตรกร (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 2541: 17) ซึ่งเป็นรากฐานเดิมของคนไทย ครั้นเมื่อวิถีการทำงาน ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมต้องเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีลักษณะแบบพึ่งพาผู้อื่น (Dependent workers) ที่มีรายได้ประจำเป็นเดือน มีกฎ มีระเบียบบังคับ แบบแพ้คัดออก มีการแข่งขัน อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัว ซึ่งลักษณะการทำงานในรูปแบบหลังนี้ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นในการผลิตสินค้าเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้ามาก มีการเปลี่ยนแปลงการใช้แรงงานในรูปแบบต่าง ๆ มาก แรงงานคนต้องมีการพัฒนาทักษะตลอดเวลา ในขณะที่มีการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนในกระบวนการผลิตมากขึ้น (Wood, 1992 : 1-3)
ในสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาภาคเกษตรกรรม (พึ่งพาตลาดภายใน) ไปสู่การพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มักมีปัญหาตามมา เนื่องจากต้องพึ่งพาตลาดจากภายนอกประเทศเป็นสำคัญ มีการระดมแรงงานอย่างเข้มข้น (Labour intensive) เมื่อต้องการเร่งผลิต และปลดแรงงานออกเมื่อต้องลดการผลิตอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตของแรงงานผันแปร เคร่งเครียด แก่งแย่งและมีค่านิยมเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างพฤติกรรมของคนในประเทศอุตสาหกรรม เช่น ในประเทศอังกฤษ ไมเคิล ไรท์ (อ้างในกองบรรณาธิการ 2546: 67-72) กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ที่อังกฤษคนแก่อย่างผมอายุ 60 ปีกว่า ถ้าเดินตามถนนแล้วเห็นกลุ่มเด็กวัยรุ่นอยู่ข้างหน้า เราจะเดินข้ามถนนหนี เพราะกลัว แต่เมืองไทยไม่เคยเกิด” หมายความว่า พฤติกรรมของคนในประเทศอุตสาหกรรมค่อนข้างรุนแรงมากกว่าสันติภาพ ซึ่งไมเคิล ไรท์ ไม่ต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่การทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของผลกระทบที่เกิดจากความคิดแบบสุดขั้วหรือรุนแรงในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย โดย Fitzapatrick (2004 : 35-40) ได้สะท้อนให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเอเชียว่า “Divorce was once all but unthinkable in Asia, but now it’s become almost standard. And these days it’s women who are doing most of the dumping getting out.” และได้วิเคราะห์ว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม (shift from agrarian to industrial) โดยนำเสนอสถิติในประเทศที่มีปริมาณการหย่าร้างเพิ่มขึ้นปริมาณสูงเมื่อเทียบค่าร้อยละของการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 1990 กับ 2002 กล่าวคือ จาก 11% เป็น 47% ในประเทศเกาหลี จาก 13% เป็น 41% ในฮ่องกง จาก 22% เป็น38% ในญี่ปุ่น จาก 15% เป็น 26% ในสิงคโปร์ และจาก 8% เป็น 15% ในประเทศจีน
จากปรัชญาพื้นฐานทางการผลิตของทั้งสองระบบที่แตกต่างกัน หากผู้ประกอบการนำเข้า
องค์ความรู้ด้านการผลิตและรูปแบบการบริหารจัดการแรงงานจากสังคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม โดยขาดการทำความเข้าใจวัฒนธรรมเดิมของแรงงานที่มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรมมาก่อน ย่อมก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความรุนแรงเกิดขึ้น มีผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว รุกลามไปถึงวิถีชีวิต ครอบครัวในที่สุด การที่ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้น ณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์ ศุภปัญญา (2546) วิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากหลายปัจจัย กล่าวคือ ในกลุ่มที่ตั้งใจจะทำงานหรือแก้ปัญหามักขาดองค์ความรู้ด้านการวัดผลงานที่ถูกต้อง ทำให้แก้ปัญหาผิดประเด็น ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใส่ใจค้นหาปัญหาหรือแก้ปัญหาก็จะใช้ยุทธศาสตร์ของตัวเองในการพัฒนาองค์การ ก่อให้เกิดบรรยากาศความหวาดผวาในองค์การหรือการหมกปัญหาเก่าแต่สร้างความน่าเชื่อถือใหม่กับคนกลุ่มใหม่ไปเรื่อย ๆ
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้นและผลจากการวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบข้อคำถามที่น่าจะสัมพันธ์กับปรัชญาและกระบวนการจัดการศึกษา ที่ว่า
1. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ ส่วนใหญ่ไม่สนใจทำงานภาคราชการและโยกย้ายงานบ่อย เช่นเดียวกับ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีแนวโน้มต้องการทำงานนอกภาคราชการมากขึ้น ๆ แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ส่วนใหญ่ต้องการทำงานภาคราชการ ไม่ชอบโยกย้ายหรือเปลี่ยนงาน
2. เพราะเหตุใดผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีอัตราการย้ายงานสูงมาก
3. ข้อค้นพบศักยภาพการทำงานของคนไทย(ภาคเหนือ) ในโรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม คือ
หากมอบหมายให้ทำงานเดี่ยว ในแนวของจ่ายตามชิ้นงาน (piece rate) พนักงานจะแข่งขันกัน
ทำงาน ในขณะที่บางคนก็ทำงานช้าและคุณภาพค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อให้ทำงานเป็นกลุ่ม ๆ ละ
5-7 คน และมีหัวหน้าทีม (Team leader) พบว่าสามารถทำงานได้มีปริมาณและคุณภาพดี เพราะ
เหตุใด (พศิน แตงจวง และคณะ 2545; พศิน แตงจวง 2547)
4. ในโรงงานที่ต้องการคนงานทำงานอย่างเต็มความสามารถมีแนวโน้มต้องการรับคนเข้าทำงาน
อายุมากกว่า 25 ปี เพราะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างปักหลัก ก่อร่างสร้างตัว ไม่เที่ยวเตร่ ในขณะที่กลุ่ม
อายุต่ำกว่า 25 เป็นกลุ่มที่ชอบฟุ่มเฟือย เที่ยวเตร่
ผลการวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ้างในกองบรรณาธิการ 2545 : 21) และยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ (อ้างในภุมริน บุญทวี 2547: 1) พบว่า พฤติกรรมและค่านิยมของเด็กไทยยุคใหม่ประกอบด้วย ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง อ่อนแอด้านจิตใจ รอคอยความสุขไม่เป็น ต้องการความรวดเร็ว มีเพศสัมพันธ์ที่นำไปสู่การตั้งครรภ์ ติดยาเสพย์ติด ขาดความยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจง่ายบนพื้นฐานความสุขด้วยการเสพวัตถุสิ่งของราคาแพง ไม่อดทนกับความทุกข์ ทำงานหนักไม่เป็น อ่อนแอ ขี้เกียจ ชอบสบาย ไม่ชอบเรียนหนังสือ เป็นเด็กขี้เหงา อยู่กับตัวเองไม่ได้ ร้อนรุ่ม ชอบพูดโทรศัพท์มือถือนาน ๆ ชอบออกนอกบ้าน มีปัญหาทางใจ ขาดการยอมรับตนเองและกำลังใจ ชอบการเลียนแบบ มีความฝัน ฟุ้งเฟ้อ ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาแพง วิ่งตามแฟชั่น ไม่สู้งาน ชอบงานเบาแต่เงินดี กล้าลักขโมยเมื่ออยากได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่มีเงิน บรรลุทางเพศเร็วกว่าวัยที่ควรเป็น ชอบเลียนแบบทางเพศ ไม่สนใจศาสนาและไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความคิดสับสน มองเหตุผลเข้าข้างตนเอง เคารพตนเองน้อยลง ซึ่งยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ (อ้างในภุมริน บุญทวี 2547: 2) กล่าวว่า ปัญหาหลักของวัยรุ่นที่กล่าวมาเกิดจากปัญหาในครอบครัวและปัญหาการเรียน หากวัยรุ่นรู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเองทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนจะทำให้เกิดปัจจัยดังกล่าวข้างต้นได้ เนื่องจากเห็นว่าสิ่งที่ทำให้ตนเองมีค่าคือ ความซ่า เป็นความกล้าที่เป็นพฤติกรรมด้านลบ ซึ่งมีเพื่อนหรือสังคมรอบตัวเป็นตัวผลักดันปัญหาให้เกิดพฤติกรรม
ในจดหมายข่าว Education for Peace Newsletter (2003: 6) ได้พยายามปลุกกระแสความสนใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสันติภาพเพื่อต่อต้านความรุนแรง ความแตกแยกของคนในชาติและระหว่างชาติในโลกนี้ ในบทความเรื่อง The Transformational Impact of Peace Education ของจดหมายข่าวดังกล่าวข้างต้นกล่าวอ้างถึงเด็กคนหนึ่งบรรยายสถานการณ์ในเมือง Mostar ประเทศ Bosnia and Herzegovina ว่าในสภาพของประเทศหลังสงคราม ประชาชนส่วนใหญ่เกียจชังกันอันเนื่องมาจากไม่เป็นเพราะต่างศาสนาก็ต่างเชื้อชาติ (Religion or nation) ประเทศถูกแตกแยกเพราะประเด็นเหล่านี้ การศึกษาเพื่อสันติภาพจึงมีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องทำให้นักเรียนปรับเปลี่ยนทัศนะ ให้เกิดความเป็นมิตรต่อกัน ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่ทำการรุนแรง (non-violence) และเมื่อนักเรียนรักสงบ ความรุนแรงในโรงเรียนก็จะเบาบางลง นักเรียนก็พร้อมที่จะพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกัน เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างเสริมสันติภาพนั้น ไม่ควรแยกวิชาออกมาสอนต่างหาก เนื่องจาก “Peace is a feeling” จึงควรค่อย ๆ ใส่และขัดเกลาในทุกวิชา การสอนสันติภาพจึงไม่ควรเน้นที่ทฤษฎี (not just be a theory) ไม่ควรบังคับ (unforced) ให้นักเรียนต้องรับฟัง ท่องจำ แต่ควรฝังเข้าไปในชีวิตประจำวัน ควรได้มีการกระทำ สอนโดยการนำเข้าสู่เหตุการณ์สำคัญ ๆ หรือไม่ก็ใช้การประชุมสัมมนา นักเรียนทุกคนควรเข้าร่วมกิจกรรม ให้มีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดสันติภาพในชีวิตประจำวัน สอดคล้องกับผลงานของรวีวรรณ แตงจวง (2547) ครูผู้ทำกิจกรรมพัฒนาจริยธรรม ตลอดปีการศึกษามานานกว่า 5 ปี ภายใต้ชื่อ "โครงการสานฝันน้องพี่มารยาทดีเลิศล้ำเพื่อพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนหอพระ" ด้วยการฝึกมารยาทการแสดงทำความเคารพด้วยการไหว้บุคคลระดับต่าง ๆ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากนั้นได้กำหนดให้นักเรียนไปฝึกนักเรียนรุ่นน้องและรุ่นพี่ระดับละอย่างน้อย 1 คน แล้วนำมาสาธิตให้ครูดู ผลจากการประเมินพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อกัน รู้จักกัน ให้ความเคารพกัน และที่สำคัญคือลดพฤติกรรมความรุนแรงในหมู่วัยรุ่น สภาพที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ต้องไปฝึกนักเรียนรุ่นน้องให้เรียนรู้การไหว้บุคคลระดับต่าง ๆ ในที่เปิดเผยด้วยความอดทน ในขณะที่รุ่นพี่ก็มีความอดทนที่จะยอมให้รุ่นน้องฝึก หรือทบทวนวิธีการทำความเคารพเพิ่มเติม นับเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างสันติภาพที่น่าสนใจ
ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสันติภาพที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ การแก้ปัญหาของผู้ถูกกระทำเอง ดังตัวอย่างของผลการวิจัยของพศิน แตงจวง (2538) พบว่า หญิงสาวหลายคนต้องหนีออกจากบ้านไปทำงานต่างอำเภอ หรือต่างจังหวัด เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับจากพ่อแม่ให้ออกไปขายบริการทางเพศ
ผลการวิจัยของ พศิน แตงจวงและคณะ (2545) เกี่ยวกับความอดทนในโรงงานอุตสาหกรรมพบว่าแม้ว่านายจ้างภาคเอกชนจะยอมรับว่าบัณฑิตส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถในระดับที่ยอมรับได้หรือสามารถพัฒนาต่อได้ แต่สิ่งที่ยากต่อการพัฒนาและแก้ไขได้ คือการขาดความอดทน อดกลั้นในการทำงาน ขาดความยับยั้งชั่งใจ มองโลกในด้านลบ และขาดความสามารถในการแก้ปัญหาในทางที่ถูกที่ควร ทำให้อัตราการย้ายงานมีปริมาณค่อนข้างสูง ต้นตอของปัญหาดังกล่าว เทอดศักดิ์ เดชธง (อ้างในกองบรรณาธิการ 2545 : 19) กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวมักเกิดกับผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ (E.Q. ต่ำ) อันเกิดจากความผิดพลาดในการใช้ปรัชญาการศึกษา อย่างไรก็ตามพศิน แตงจวง (2547) พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีผู้นำทีม (Team leader) เอาใจใส่และเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของพนักงานแล้วสร้างบรรยากาศการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน สามารถส่งเสริมสันติภาพในการทำงานและเสริมสร้างความอดทน เห็นอกเห็นใจกันของพนักงานที่ทำงานกลุ่มเดียวกัน
ยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ (อ้างในภุมริน บุญทวี 2547: 2) มองว่าครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมรุนแรงหรือไม่ เพราะครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มนุษย์รู้จัก คุ้นเคย ผ่านการอบรมเลี้ยงดูทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจจากพ่อแม่ ซึมซับเจตคติ ความคิดอ่านพื้นฐานจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
ผลกระทบที่เกิดจากการขาดสันติภาพ
ตามวิถีการทำงานของแรงงานภาคเกษตรกรรมมีลักษณะแบบพึ่งพาตนเอง (Independent workers) มีรูปแบบของความเป็นอิสระ โดยลักษณะของงานจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ไม่จำเจ ไม่มีการกำหนดเวลาเข้า - ออกงานตายตัว และมักทำงานกันในหมู่ญาติมิตรหรือชุมชนเดียวกัน รู้จักมักคุ้นกันดี พึ่งพาอาศัยกันง่าย ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่มีรายได้ไม่แน่นอน มีวิถีชีวิตแบบพออยู่พอกิน ลักษณะงานและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวได้กลายเป็นวัฒนธรรมของเกษตรกร (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 2541: 17) ซึ่งเป็นรากฐานเดิมของคนไทย ครั้นเมื่อวิถีการทำงาน ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมต้องเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีลักษณะแบบพึ่งพาผู้อื่น (Dependent workers) ที่มีรายได้ประจำเป็นเดือน มีกฎ มีระเบียบบังคับ แบบแพ้คัดออก มีการแข่งขัน อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัว ซึ่งลักษณะการทำงานในรูปแบบหลังนี้ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นในการผลิตสินค้าเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้ามาก มีการเปลี่ยนแปลงการใช้แรงงานในรูปแบบต่าง ๆ มาก แรงงานคนต้องมีการพัฒนาทักษะตลอดเวลา ในขณะที่มีการนำเครื่องจักรมาใช้ทดแทนในกระบวนการผลิตมากขึ้น (Wood, 1992 : 1-3)
ในสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาภาคเกษตรกรรม (พึ่งพาตลาดภายใน) ไปสู่การพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มักมีปัญหาตามมา เนื่องจากต้องพึ่งพาตลาดจากภายนอกประเทศเป็นสำคัญ มีการระดมแรงงานอย่างเข้มข้น (Labour intensive) เมื่อต้องการเร่งผลิต และปลดแรงงานออกเมื่อต้องลดการผลิตอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตของแรงงานผันแปร เคร่งเครียด แก่งแย่งและมีค่านิยมเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างพฤติกรรมของคนในประเทศอุตสาหกรรม เช่น ในประเทศอังกฤษ ไมเคิล ไรท์ (อ้างในกองบรรณาธิการ 2546: 67-72) กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ที่อังกฤษคนแก่อย่างผมอายุ 60 ปีกว่า ถ้าเดินตามถนนแล้วเห็นกลุ่มเด็กวัยรุ่นอยู่ข้างหน้า เราจะเดินข้ามถนนหนี เพราะกลัว แต่เมืองไทยไม่เคยเกิด” หมายความว่า พฤติกรรมของคนในประเทศอุตสาหกรรมค่อนข้างรุนแรงมากกว่าสันติภาพ ซึ่งไมเคิล ไรท์ ไม่ต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่การทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม อีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของผลกระทบที่เกิดจากความคิดแบบสุดขั้วหรือรุนแรงในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย โดย Fitzapatrick (2004 : 35-40) ได้สะท้อนให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเอเชียว่า “Divorce was once all but unthinkable in Asia, but now it’s become almost standard. And these days it’s women who are doing most of the dumping getting out.” และได้วิเคราะห์ว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม (shift from agrarian to industrial) โดยนำเสนอสถิติในประเทศที่มีปริมาณการหย่าร้างเพิ่มขึ้นปริมาณสูงเมื่อเทียบค่าร้อยละของการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 1990 กับ 2002 กล่าวคือ จาก 11% เป็น 47% ในประเทศเกาหลี จาก 13% เป็น 41% ในฮ่องกง จาก 22% เป็น38% ในญี่ปุ่น จาก 15% เป็น 26% ในสิงคโปร์ และจาก 8% เป็น 15% ในประเทศจีน
จากปรัชญาพื้นฐานทางการผลิตของทั้งสองระบบที่แตกต่างกัน หากผู้ประกอบการนำเข้า
องค์ความรู้ด้านการผลิตและรูปแบบการบริหารจัดการแรงงานจากสังคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม โดยขาดการทำความเข้าใจวัฒนธรรมเดิมของแรงงานที่มีพื้นฐานด้านเกษตรกรรมมาก่อน ย่อมก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความรุนแรงเกิดขึ้น มีผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว รุกลามไปถึงวิถีชีวิต ครอบครัวในที่สุด การที่ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้น ณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์ ศุภปัญญา (2546) วิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากหลายปัจจัย กล่าวคือ ในกลุ่มที่ตั้งใจจะทำงานหรือแก้ปัญหามักขาดองค์ความรู้ด้านการวัดผลงานที่ถูกต้อง ทำให้แก้ปัญหาผิดประเด็น ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ใส่ใจค้นหาปัญหาหรือแก้ปัญหาก็จะใช้ยุทธศาสตร์ของตัวเองในการพัฒนาองค์การ ก่อให้เกิดบรรยากาศความหวาดผวาในองค์การหรือการหมกปัญหาเก่าแต่สร้างความน่าเชื่อถือใหม่กับคนกลุ่มใหม่ไปเรื่อย ๆ
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้นและผลจากการวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบข้อคำถามที่น่าจะสัมพันธ์กับปรัชญาและกระบวนการจัดการศึกษา ที่ว่า
1. ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ ส่วนใหญ่ไม่สนใจทำงานภาคราชการและโยกย้ายงานบ่อย เช่นเดียวกับ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีแนวโน้มต้องการทำงานนอกภาคราชการมากขึ้น ๆ แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ส่วนใหญ่ต้องการทำงานภาคราชการ ไม่ชอบโยกย้ายหรือเปลี่ยนงาน
2. เพราะเหตุใดผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีอัตราการย้ายงานสูงมาก
3. ข้อค้นพบศักยภาพการทำงานของคนไทย(ภาคเหนือ) ในโรงงานที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม คือ
หากมอบหมายให้ทำงานเดี่ยว ในแนวของจ่ายตามชิ้นงาน (piece rate) พนักงานจะแข่งขันกัน
ทำงาน ในขณะที่บางคนก็ทำงานช้าและคุณภาพค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อให้ทำงานเป็นกลุ่ม ๆ ละ
5-7 คน และมีหัวหน้าทีม (Team leader) พบว่าสามารถทำงานได้มีปริมาณและคุณภาพดี เพราะ
เหตุใด (พศิน แตงจวง และคณะ 2545; พศิน แตงจวง 2547)
4. ในโรงงานที่ต้องการคนงานทำงานอย่างเต็มความสามารถมีแนวโน้มต้องการรับคนเข้าทำงาน
อายุมากกว่า 25 ปี เพราะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างปักหลัก ก่อร่างสร้างตัว ไม่เที่ยวเตร่ ในขณะที่กลุ่ม
อายุต่ำกว่า 25 เป็นกลุ่มที่ชอบฟุ่มเฟือย เที่ยวเตร่
ผลการวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ้างในกองบรรณาธิการ 2545 : 21) และยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ (อ้างในภุมริน บุญทวี 2547: 1) พบว่า พฤติกรรมและค่านิยมของเด็กไทยยุคใหม่ประกอบด้วย ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง อ่อนแอด้านจิตใจ รอคอยความสุขไม่เป็น ต้องการความรวดเร็ว มีเพศสัมพันธ์ที่นำไปสู่การตั้งครรภ์ ติดยาเสพย์ติด ขาดความยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจง่ายบนพื้นฐานความสุขด้วยการเสพวัตถุสิ่งของราคาแพง ไม่อดทนกับความทุกข์ ทำงานหนักไม่เป็น อ่อนแอ ขี้เกียจ ชอบสบาย ไม่ชอบเรียนหนังสือ เป็นเด็กขี้เหงา อยู่กับตัวเองไม่ได้ ร้อนรุ่ม ชอบพูดโทรศัพท์มือถือนาน ๆ ชอบออกนอกบ้าน มีปัญหาทางใจ ขาดการยอมรับตนเองและกำลังใจ ชอบการเลียนแบบ มีความฝัน ฟุ้งเฟ้อ ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาแพง วิ่งตามแฟชั่น ไม่สู้งาน ชอบงานเบาแต่เงินดี กล้าลักขโมยเมื่ออยากได้สิ่งที่ต้องการแต่ไม่มีเงิน บรรลุทางเพศเร็วกว่าวัยที่ควรเป็น ชอบเลียนแบบทางเพศ ไม่สนใจศาสนาและไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความคิดสับสน มองเหตุผลเข้าข้างตนเอง เคารพตนเองน้อยลง ซึ่งยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ (อ้างในภุมริน บุญทวี 2547: 2) กล่าวว่า ปัญหาหลักของวัยรุ่นที่กล่าวมาเกิดจากปัญหาในครอบครัวและปัญหาการเรียน หากวัยรุ่นรู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเองทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนจะทำให้เกิดปัจจัยดังกล่าวข้างต้นได้ เนื่องจากเห็นว่าสิ่งที่ทำให้ตนเองมีค่าคือ ความซ่า เป็นความกล้าที่เป็นพฤติกรรมด้านลบ ซึ่งมีเพื่อนหรือสังคมรอบตัวเป็นตัวผลักดันปัญหาให้เกิดพฤติกรรม
เพราะเหตุใดสันติภาพและความอดทนจึงได้รับความสนใจในการเสริมสร้างน้อยในระดับอุดมศึกษา
การเป็นครูไม่ใช่อาชีพธรรมดา ครูมีส่วนในการสร้างคน
คุณธรรมของตัวครูเองจึงมีความสำคัญด้วย
ชยสาโรภิกขุ
(2547 : 72)
จากประเด็นปัญหาข้างต้น ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมของกลุ่มที่กำลังเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นคือ อายุ 18-24 ปี เป็นแหล่งที่ให้ความอิสระ เสรีที่จะเลือกเรียนวิชาที่ตนเองสนใจ เลือกทำกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ สถาบันอุดมศึกษาจึงอาจมีลักษณะเป็นดาบสองคม คือ ถ้าดำเนินการเหมาะสมก็จะสามารถเสริมสร้างลักษณะที่ดีงามในผู้เรียนได้มาก แต่ถ้าจัดการไม่ดีก็จะทำให้ผู้เรียนมีจิตใจที่ถดถอยลง เกิดปัญหาที่แก้ยากติดตามมาในอนาคต (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2543 : 99-100) จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการศึกษานอกระบบและสาขาวิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบประเด็นที่น่าสนใจว่า กิจกรรมการรับน้องใหม่ของแต่ละสถาบันการศึกษามีความแตกต่างกัน และผลของการจัดกิจกรรมที่ต่างกันมีผลทำให้พฤติกรรมของนักศึกษาแตกต่างกัน และผลของการจัดกิจกรรมที่ต่างกันมีผลทำให้พฤติกรรมของนักศึกษาแตกต่างกันไปด้วย กล่าวคือโดยทั่วไปกิจกรรมต่าง ๆ จะได้รับการขัดเกลาจากรุ่นพี่สืบต่อกันมา ในกลุ่มที่ดำเนินการด้วยความรุนแรงจะมีการแก้แค้นกับรุ่นถัดไป และเมื่อผู้สำเร็จการศึกษาต่างรุ่นกันออกไปทำงานในชีวิตจริงก็ทำให้เกิดความบาดหมางใจกันและไม่สามารถทำงานด้วยกันได้ และเป็นที่น่าสังเกตว่าในการจัดกิจกรรมของนักศึกษาจะขาดความเอาใจใส่จากอาจารย์ แต่ปล่อยให้รุ่นพี่ดูแล จัดกิจกรรมกับรุ่นน้องอย่างอิสระ ซึ่งประเวศ วะสี (2547) ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากการที่สถาบันอุดมศึกษา(ของรัฐ) ซึ่งเต็มไปด้วยบุคลากรที่มีคุณลักษณะขัดแย้งดังกล่าว มีลักษณะความสัมพันธ์แบบหลวม ๆ มุ่งเน้นผลประโยชน์ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เน้นการเป็นเอกภาพ มีการดูถูกดูแคลนเพื่อนร่วมงาน แก่งแย่งผลประโยชน์ เล่นพรรคเล่นพวก ขาดความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยฟังใคร และนับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่กล่าวมาสูงที่สุด จะเห็นได้จากปรากฏการณ์เมื่อมีการเลือกตั้งผู้บริหารระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชา ประธานสาขาวิชา คณบดีและตลอดจนถึงอธิการบดี ล้วนมีปัญหา สร้างความขัดแย้งในองค์การเกือบทุกสถาบัน แยกเป็นก๊ก เป็นกลุ่ม โดยตลอด จึงทำให้ละเลย ไม่ตระหนักต่อคำว่า "สันติภาพ" หรือ "ความอดทน อดกลั้น" มุ่งแต่แข่งขัน โอ้อวดดั่งอยู่บน "หอคอยงาช้าง" พฤติกรรมดังกล่าวจึงทำให้ คำว่า "สันติภาพและความอดทน" คือประเด็นที่สถาบันอุดมศึกษาขาดหายไปและจะต้องเริ่มต้นก่อน เนื่องจากต้องเป็นผู้ขัดเกลา เป็นแม่แบบให้กับศิษย์
ตัวอย่างในการเสริมสร้างสันติภาพและความอดทนในระดับอุดมศึกษา
คุณธรรมสำคัญกว่าความรู้
ขงจื้อ
จากข้อเตือนใจที่ขงจื้อกล่าวว่า "คุณธรรมสำคัญกว่าความรู้" ข้างต้น นับเป็นแกนนำในการพัฒนาบุคคลตามแนวคิดตะวันออกมาโดยตลอด สอดรับกับที่ ชยสาโรภิกขุ (2547 : 73) กล่าวว่า "ความรู้ไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง ความรู้ที่คนแสวงหากันทุกวันเพื่ออะไร ถ้าไม่ระวัง จะถูกเอาไปใช้ตอบสนองกิเลสหมด" และยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า "คำว่า อดทน สติ สมาธิ พูดไม่ยากหรอก แต่ตัวความอดทนเป็นอย่างไร แล้วจะพัฒนาอย่างไร สติเป็นอย่างไร สมาธิเป็นอย่างไร พูดง่าย แต่ว่าทำยากและถ่ายทอดลำบาก” (ชยสาโรภิกขุ 2547: 68) อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าจะมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่พยายามสรรสร้างสันติภาพและความอดทน แทนความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Multi-disciplinary
ภายใต้ความเชื่อของวัฒนธรรมไทยที่ว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน” หรือ “มีครูคนเดียวกัน” ย่อมไม่เป็นศัตรูกัน เช่นเดียวกับความเชื่อที่ว่ารูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Multi-disciplinary สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ย่อมทำให้นักศึกษามีพื้นฐานความรู้ในมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และยิ่งไปกว่านั้น ผลที่ได้รับคือ ทำให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความคุ้นเคยกันของนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย นักศึกษามีความรู้สึกว่าเรียนจากอาจารย์คนเดียวกัน ซึ่งมีผลทางจิตวิทยาทำให้เกิดสันติภาพ ช่วยแก้ปัญหาและลดความขัดแย้งของนักศึกษาระหว่างคณะภายในสถาบันได้
รูปแบบดังกล่าวได้รับการยอมรับดำเนินการในหลายสถาบัน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด เช่น ในช่วงเริ่มต้นของวิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก (มหาวิทยาลัยนเรศวรปัจจุบัน) วิทยาลัยได้จัดให้นิสิตอยู่หอพัก ให้ทานอาหารร่วมกัน พัฒนาสถานที่ร่วมกัน เรียนวิชาพื้นฐานจากอาจารย์ท่านเดียวกัน นิสิตจึงรักใคร่กัน รู้จักกันหมดทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง มีสันติภาพมาก ไม่มีการทะเลาะวิวาท เช่นเดียวกับที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดวิชาพื้นฐานให้นักศึกษาเรียนรวมกันแบบคละคณะกันตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรม ค้นคว้าหาความรู้ร่วมกัน คุ้นเคยกันซึ่งทำให้ง่ายต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สร้างบรรยากาศของความเป็นสังคมอุดมศึกษาด้วยการจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าอยู่ร่วมกันในหอพักของมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมรับน้องใหม่ด้วยบรรยากาศแบบท้องถิ่น วิธีการดังกล่าวได้ตอกย้ำความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นเพื่อนกัน อ่านหนังสือด้วยกัน รับประทานอาหารด้วยกัน แบ่งปันกัน เที่ยวด้วยกัน ทุกข์สุขด้วยกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันและนำมาซึ่งสันติภาพ
2. รูปแบบการเรียนข้ามสถาบันและโอนหน่วยกิต
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน ยอมรับในหลักการของนโยบายการเรียนและโอนหน่วยกิตข้ามสถาบันได้ ว่าเป็นรูปแบบที่น่าสนใจมากและมีการกล่าวถึงมานาน แต่ในทางปฏิบัติยังไม่แพร่หลายเนื่องจากหลายสาเหตุปัจจัย ยกเว้นมหาวิทยาลัยที่ทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการในการผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตร่วมกันแล้วเท่านั้น เช่น โครงการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่นักศึกษาจะเข้าไปเรียนกับอาจารย์ในแต่ละสถาบันร่วมกัน (พศิน แตงจวง 2547ข) ผู้เขียนเชื่อว่าหากนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของแต่ละสถาบันสามารถเรียนข้ามสถาบันได้โดยไม่แบ่งแยกสถาบัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมากที่จะสามารถเลือกเรียนกับผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยละลายกำแพงความรู้สึกสถาบันนิยมลงได้ อาจารย์อาจต้องรู้สึกรับผิดชอบในการเร่งพัฒนาตัวเองมากขึ้นเพราะถ้าไม่พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับก็อาจไม่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียน ในขณะที่นักศึกษาเรียนรู้จักกันมากขึ้น ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็จะมีมากขึ้นซึ่งจะช่วยทำให้เกิดสันติภาพและเกิดความอดทนในความรู้มากรู้น้อยของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น(Tangchuang, 2003, Tangchuang and Others, 2004; อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ และคณะ 2547) สอดคล้องกับความเชื่อของอดิศัย โพธารามิก (อ้างในตามสถานการณ์ 2547 : 11) ที่เชื่อว่า การแก้ปัญหานักเรียนตีกันคงต้องทำหลายกระบวนการไปพร้อม ๆ กัน และเชื่อว่าการนำนักเรียนอาชีวะกลุ่มเสี่ยงก่อเหตุทะเลาะวิวาทเข้าอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในค่ายทหารร่วมกันได้ผลและเป็นที่พอใจของนักเรียน แต่หากมีการเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นก็จะส่งผลให้มีการเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น ทำลายกำแพงต่างสถาบัน และหลอมละลายพฤติกรรมไปในทางที่ดีและยั่งยืนยิ่งขึ้น
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
คำกล่าวของไอไสตน์ (อ้างในเธียร พานิช 2547 : 62) ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" มีความหมายและเป็นคำกล่าวที่น่าสนใจ เนื่องจากความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนมากและมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก สอดคล้องกับการบรรยายของ Monroe (อ้างในพศิน แตงจวง 2543 :31) ผู้จัดการ Standard & Regulations ของบริษัท Hewlett-Packard ที่ว่า ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา 30 ปี เพื่อนชาวนาข้างบ้านต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลถึง 4 ครั้ง คือจากเป็นชาวนาที่ใช้แรงงานสัตว์ เป็นใช้เครื่องจักร ต่อมาเขาต้องเข้าตลาดหุ้นและล่าสุดเขาต้องใช้คอมพิวเตอร์และ internet ช่วยในการตัดสินใจว่าจะปลูกข้าวหรือปลูกพืชพันธุ์อะไรจึงจะเป็นที่ต้องการของตลาด ควรจะซื้อปุ๋ยจากที่ไหนจึงจะได้ราคาถูกและมีคุณภาพ นั่นคือชาวนาที่จะสามารถเจริญก้าวหน้าอยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีคุณภาพจะต้องมีจินตนาการใหม่ ปรับตัวง่าย และยอมรับว่าความรู้เก่า ๆ ใช้ประโยชน์น้อยมาก และเป็นที่น่าสนใจว่าเพราะเหตุใดชาวนาชาวอเมริกันจึงปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแตกต่างจากนักเรียนวัยรุ่นชาวอเมริกันที่มีพฤติกรรมสร้างความรุนแรงด้วยการฆ่าเพื่อนและแม้กระทั่งครูได้ สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ทราบทั่วไปว่าขบวนการขัดเกลาทั้งในโรงเรียนและสังคมในยุคก่อนของอเมริกามีความเอื้ออาทร แต่ต่อมาได้กลายเป็นสังคมการแข่งขัน ต่อสู้ โกงและหลอกลวงมากขึ้นดังจะเห็นได้จากกรณี Enron เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนักเรียนนักศึกษาหรือวัยรุ่นในประเทศไทยยังมีพฤติกรรมยกพวกตีกัน ทำร้ายร่างกายข้ามสถาบันกัน หรือตั้งแก๊งกวนเมือง สร้างปัญหาให้กับประชาชนทั่วไป
จากปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาได้ผลยิ่งขึ้น หลักสูตร การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ น่าจะต้องกลับมาทบทวนกันว่าในขณะที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาการทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะต้องไม่ลืมที่จะบูรณาการด้านคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปด้วยจนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนที่สังคมไทยและหมู่บ้านโลกจะเกิดการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นและไม่มีความสงบสุขมากไปกว่านี้
บรรณานุกรม
กองบรรณาธิการ สานปฏิรูป (2545). “เด็กไทยสายพันธุ์ใหม่ไร้ภูมิต้านทานทางอารมณ์” สานปฏิรูป.
ปีที่ 5 ฉบับที่ 54 กันยายน.
________ (2546). “การศึกษาไทยในมุมมองของไมเคิล ไรท์”. สานปฏิรูป. ปีที่ 6 ฉบับที่ 64 สิงหาคม.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2541). กระบวนทัศน์วัฒนธรรมไทย ต้นตอเศรษฐกิจถดถอย.
กรุงเทพฯ : บริษัทซัคเซสมีเดีย จำกัด.
ข่าวสด (2547). “ผงะคนติดเอดส์แค่ 2 อำเภอในพะเยากว่าแสน แฉกลุ่มเสี่ยงอายุแค่ 12 ถูกครอบครัว
ยากจนผลักออกไปขายตัว” 22 พฤษภาคม 2547.
จารุมา อัชกุล. (2543). การวิเคราะห์สถานภาพความสามารถในการแข่งขันของไทยในเศรษฐกิจโลก.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญ ทะศรีแก้วและคณะ (2547). การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 และหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ของโรงเรียนใน
อำเภองาว จังหวัดลำปาง การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชยสาโรภิกขุ (2547). “ภูมิปัญญาพุทธดีกว่าตะวันตก” บทสัมภาษณ์ประจำฉบับ โดยกองบรรณาธิการ
สานปฏิรูป. ปีที่ 6 ฉบับที่ 69 มกราคม.
เธียร พานิช (2547). "เส้นทางแห่งความฝัน" สานปฏิรูป. ปีที่ 7 ฉบับที่ 71 มีนาคม.
ตามสถานการณ์ (2547). "อดิศัย ย้ำเข้าค่ายทหารแก้อาชีวะตีกันได้" สานปฏิรูป. ปีที่ 7
ฉบับที่ 71 มีนาคม.
ณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์ ศุภปัญญา (2546). เทคนิคการวัดผลงานสมัยใหม่. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดีย บุคส์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ :
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2000).
บทบรรณาธิการ ข่าวสด (2547). “การค้าเด็ก” ข่าวสด 23 พฤษภาคม 2547.
ประชาคมปฏิรูปการศึกษา (2547). "นักวิจัยชี้ปฏิรูปการเรียนรู้ยังไม่คืบหน้า" สานปฏิรูป. ปีที่ 7
ฉบับที่ 72 เมษายน.
พศิน แตงจวง (2543). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใน
ประเทศกลุ่ม APEC : กรณีศึกษาประเทศไทย. รายงานวิจัยเสนอคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
________(2547ก). Analysis of the working process: of the chain of values, of technological
change and stalemates, assessment of labour productivity and their factors, workers’
attitudes toward innovation. รายงานผลการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้จัดการฝ่ายบุคคล ณ IMAJ
นิคมอุตสาหกรรมลำพูน 28 พฤษภาคม.
________(2547ข). พัฒนาการของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. รายงานวิจัยเสนอคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พศิน แตงจวง อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์และต่าย เซี่ยงฉี (2545). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สำเร็จการศึกษาปี 2540-2544. รายงานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการประเมิน
แผนพัฒนาระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544).
ภูมริน บุญทวี (2547). ปัจจัยทางครอบครัวและพฤติกรรมทางสังคมที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักศึกษา
โรงเรียนอาชีวะเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วารุณี (2000).
สมเกียรติ (2000).
สุมาลี ปิตยานนท์ (2545). แรงงานไทยกับนโยบาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ พศิน แตงจวงและต่าย เซี่ยงฉี (2547). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการ
จัดการศึกษาแบบ ไตรภาคและแบบทวิภาค. รายงานการวิจัยเสนอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี.
อุทัย ดุลยเกษม (2547). "ปรารมภ์ เรื่องหลักสูตรแฝงในระดับอุดมศึกษา" สานปฏิรูป ปีที่ 7 ฉบับที่ 74
มิถุนายน.
Afkhampour, D. (2003). “Greek and Turkish Cypriots Create a Common Future”. Education for
Peace Newsletter. Vol. 1 No. 4 October.
CELS (2003). Preliminary Report on Social Actors' Perceptions on Education Reform in
Thailand. (Mimeographed).
Chandoevwit, W. (2004). “Labor Market Issues in Thailand” TDRI Quarterly Review. Vol. 19, No.2 June.
Davenport, T. (2543). Human Capital : What it is and Why People Invest it. แปลเรียบเรียง
โดย ศิระ โอภาสพงษ์. กรุงเทพฯ : เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส จำกัด.
Fitzapatrick, L. (2004). “Why are divorce rates hitting record levels across Asia?” TIME Vol. 163,
No. 13 April 5.
Luthans, F. (1977). Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill Book Company.
Mounier, A. (2004). Review of International Literature: The Theoretical Framework. A
Complementation Paper for Wrap up Session, the 10th Workshop, on 19th April.
at CELS Office.
Polanyi, K. (1980). The Great Transformation. New York : Octagon Books.
Schneiter, J-J. (2004). Communication on Personnel Administration. at International Metal
and Jewelry Company Limited.Northern Regional Industrial Estate, Lamphun Province
on the 23rd April.
Tangchuang, P. (2001). "Concept and Practice of Knowledge-based Economies Promotions in Higher
Education Institutes". นำเสนอที่ประชุม ASAIHL จัด ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 20
กรกฎาคม 2544 และตีพิมพ์ในวารสาร ASAIHL- THAILAND Journal Vol.4 No.2
November, 2001.
__________ (2002). Some Contradictory Evidences of the Knowledge-based Economy in
Thailand. A paper presented at Geneva, Switzerland, 21-22 Nov. 2002.
___________ (2003). Bridging the Knowledge Gap Via Knowledge Networks Among
APEC Economies. A paper presented at APEC Study Center Consortium Conference
2003. at Phuket 25-28th May.
Tangchuang, P. and Mounier, A. (2002). “Thai Higher Education towards 2020: A Reappraisal in a
Historical perspective.” A Paper presented at ASAIHL Conference at rangsit University and
published in ASAIHL-Thailand Journal. Vol. 5 No. 2 December.
Tangchuang, P. ; Mounier, A. and Pongwart, A. (2004). Cooperative Skills Formation as a
Way of bridging the Knowledge Gap Through Regional Cooperation. A Paper
presented at ASAIHL Conference, 20th February at Sri Patoom University and published in
ASAIHL-Thailand Journal. Vol.7 No.1 May 2004
Wood, S. (1992). “The Transformation of Work?” in Wood, S. (Editor). The Transformation
of Work? : Skill, flexibility and the labour process. London : Routledge.
การเป็นครูไม่ใช่อาชีพธรรมดา ครูมีส่วนในการสร้างคน
คุณธรรมของตัวครูเองจึงมีความสำคัญด้วย
ชยสาโรภิกขุ
(2547 : 72)
จากประเด็นปัญหาข้างต้น ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมของกลุ่มที่กำลังเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นคือ อายุ 18-24 ปี เป็นแหล่งที่ให้ความอิสระ เสรีที่จะเลือกเรียนวิชาที่ตนเองสนใจ เลือกทำกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ สถาบันอุดมศึกษาจึงอาจมีลักษณะเป็นดาบสองคม คือ ถ้าดำเนินการเหมาะสมก็จะสามารถเสริมสร้างลักษณะที่ดีงามในผู้เรียนได้มาก แต่ถ้าจัดการไม่ดีก็จะทำให้ผู้เรียนมีจิตใจที่ถดถอยลง เกิดปัญหาที่แก้ยากติดตามมาในอนาคต (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2543 : 99-100) จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) กับนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิชาการศึกษานอกระบบและสาขาวิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบประเด็นที่น่าสนใจว่า กิจกรรมการรับน้องใหม่ของแต่ละสถาบันการศึกษามีความแตกต่างกัน และผลของการจัดกิจกรรมที่ต่างกันมีผลทำให้พฤติกรรมของนักศึกษาแตกต่างกัน และผลของการจัดกิจกรรมที่ต่างกันมีผลทำให้พฤติกรรมของนักศึกษาแตกต่างกันไปด้วย กล่าวคือโดยทั่วไปกิจกรรมต่าง ๆ จะได้รับการขัดเกลาจากรุ่นพี่สืบต่อกันมา ในกลุ่มที่ดำเนินการด้วยความรุนแรงจะมีการแก้แค้นกับรุ่นถัดไป และเมื่อผู้สำเร็จการศึกษาต่างรุ่นกันออกไปทำงานในชีวิตจริงก็ทำให้เกิดความบาดหมางใจกันและไม่สามารถทำงานด้วยกันได้ และเป็นที่น่าสังเกตว่าในการจัดกิจกรรมของนักศึกษาจะขาดความเอาใจใส่จากอาจารย์ แต่ปล่อยให้รุ่นพี่ดูแล จัดกิจกรรมกับรุ่นน้องอย่างอิสระ ซึ่งประเวศ วะสี (2547) ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากการที่สถาบันอุดมศึกษา(ของรัฐ) ซึ่งเต็มไปด้วยบุคลากรที่มีคุณลักษณะขัดแย้งดังกล่าว มีลักษณะความสัมพันธ์แบบหลวม ๆ มุ่งเน้นผลประโยชน์ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เน้นการเป็นเอกภาพ มีการดูถูกดูแคลนเพื่อนร่วมงาน แก่งแย่งผลประโยชน์ เล่นพรรคเล่นพวก ขาดความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยฟังใคร และนับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่กล่าวมาสูงที่สุด จะเห็นได้จากปรากฏการณ์เมื่อมีการเลือกตั้งผู้บริหารระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชา ประธานสาขาวิชา คณบดีและตลอดจนถึงอธิการบดี ล้วนมีปัญหา สร้างความขัดแย้งในองค์การเกือบทุกสถาบัน แยกเป็นก๊ก เป็นกลุ่ม โดยตลอด จึงทำให้ละเลย ไม่ตระหนักต่อคำว่า "สันติภาพ" หรือ "ความอดทน อดกลั้น" มุ่งแต่แข่งขัน โอ้อวดดั่งอยู่บน "หอคอยงาช้าง" พฤติกรรมดังกล่าวจึงทำให้ คำว่า "สันติภาพและความอดทน" คือประเด็นที่สถาบันอุดมศึกษาขาดหายไปและจะต้องเริ่มต้นก่อน เนื่องจากต้องเป็นผู้ขัดเกลา เป็นแม่แบบให้กับศิษย์
ตัวอย่างในการเสริมสร้างสันติภาพและความอดทนในระดับอุดมศึกษา
คุณธรรมสำคัญกว่าความรู้
ขงจื้อ
จากข้อเตือนใจที่ขงจื้อกล่าวว่า "คุณธรรมสำคัญกว่าความรู้" ข้างต้น นับเป็นแกนนำในการพัฒนาบุคคลตามแนวคิดตะวันออกมาโดยตลอด สอดรับกับที่ ชยสาโรภิกขุ (2547 : 73) กล่าวว่า "ความรู้ไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง ความรู้ที่คนแสวงหากันทุกวันเพื่ออะไร ถ้าไม่ระวัง จะถูกเอาไปใช้ตอบสนองกิเลสหมด" และยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า "คำว่า อดทน สติ สมาธิ พูดไม่ยากหรอก แต่ตัวความอดทนเป็นอย่างไร แล้วจะพัฒนาอย่างไร สติเป็นอย่างไร สมาธิเป็นอย่างไร พูดง่าย แต่ว่าทำยากและถ่ายทอดลำบาก” (ชยสาโรภิกขุ 2547: 68) อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าจะมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่พยายามสรรสร้างสันติภาพและความอดทน แทนความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง ดังนี้
1. รูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Multi-disciplinary
ภายใต้ความเชื่อของวัฒนธรรมไทยที่ว่า “กินข้าวหม้อเดียวกัน” หรือ “มีครูคนเดียวกัน” ย่อมไม่เป็นศัตรูกัน เช่นเดียวกับความเชื่อที่ว่ารูปแบบการจัดการศึกษาแบบ Multi-disciplinary สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ย่อมทำให้นักศึกษามีพื้นฐานความรู้ในมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และยิ่งไปกว่านั้น ผลที่ได้รับคือ ทำให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความคุ้นเคยกันของนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย นักศึกษามีความรู้สึกว่าเรียนจากอาจารย์คนเดียวกัน ซึ่งมีผลทางจิตวิทยาทำให้เกิดสันติภาพ ช่วยแก้ปัญหาและลดความขัดแย้งของนักศึกษาระหว่างคณะภายในสถาบันได้
รูปแบบดังกล่าวได้รับการยอมรับดำเนินการในหลายสถาบัน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด เช่น ในช่วงเริ่มต้นของวิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก (มหาวิทยาลัยนเรศวรปัจจุบัน) วิทยาลัยได้จัดให้นิสิตอยู่หอพัก ให้ทานอาหารร่วมกัน พัฒนาสถานที่ร่วมกัน เรียนวิชาพื้นฐานจากอาจารย์ท่านเดียวกัน นิสิตจึงรักใคร่กัน รู้จักกันหมดทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง มีสันติภาพมาก ไม่มีการทะเลาะวิวาท เช่นเดียวกับที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดวิชาพื้นฐานให้นักศึกษาเรียนรวมกันแบบคละคณะกันตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำกิจกรรม ค้นคว้าหาความรู้ร่วมกัน คุ้นเคยกันซึ่งทำให้ง่ายต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สร้างบรรยากาศของความเป็นสังคมอุดมศึกษาด้วยการจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าอยู่ร่วมกันในหอพักของมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมรับน้องใหม่ด้วยบรรยากาศแบบท้องถิ่น วิธีการดังกล่าวได้ตอกย้ำความเป็นพี่เป็นน้อง เป็นเพื่อนกัน อ่านหนังสือด้วยกัน รับประทานอาหารด้วยกัน แบ่งปันกัน เที่ยวด้วยกัน ทุกข์สุขด้วยกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันและนำมาซึ่งสันติภาพ
2. รูปแบบการเรียนข้ามสถาบันและโอนหน่วยกิต
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางของมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน ยอมรับในหลักการของนโยบายการเรียนและโอนหน่วยกิตข้ามสถาบันได้ ว่าเป็นรูปแบบที่น่าสนใจมากและมีการกล่าวถึงมานาน แต่ในทางปฏิบัติยังไม่แพร่หลายเนื่องจากหลายสาเหตุปัจจัย ยกเว้นมหาวิทยาลัยที่ทำข้อตกลงอย่างเป็นทางการในการผลิตบัณฑิตระดับดุษฎีบัณฑิตร่วมกันแล้วเท่านั้น เช่น โครงการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่นักศึกษาจะเข้าไปเรียนกับอาจารย์ในแต่ละสถาบันร่วมกัน (พศิน แตงจวง 2547ข) ผู้เขียนเชื่อว่าหากนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปของแต่ละสถาบันสามารถเรียนข้ามสถาบันได้โดยไม่แบ่งแยกสถาบัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมากที่จะสามารถเลือกเรียนกับผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยละลายกำแพงความรู้สึกสถาบันนิยมลงได้ อาจารย์อาจต้องรู้สึกรับผิดชอบในการเร่งพัฒนาตัวเองมากขึ้นเพราะถ้าไม่พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับก็อาจไม่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียน ในขณะที่นักศึกษาเรียนรู้จักกันมากขึ้น ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็จะมีมากขึ้นซึ่งจะช่วยทำให้เกิดสันติภาพและเกิดความอดทนในความรู้มากรู้น้อยของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น(Tangchuang, 2003, Tangchuang and Others, 2004; อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ และคณะ 2547) สอดคล้องกับความเชื่อของอดิศัย โพธารามิก (อ้างในตามสถานการณ์ 2547 : 11) ที่เชื่อว่า การแก้ปัญหานักเรียนตีกันคงต้องทำหลายกระบวนการไปพร้อม ๆ กัน และเชื่อว่าการนำนักเรียนอาชีวะกลุ่มเสี่ยงก่อเหตุทะเลาะวิวาทเข้าอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในค่ายทหารร่วมกันได้ผลและเป็นที่พอใจของนักเรียน แต่หากมีการเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นก็จะส่งผลให้มีการเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น ทำลายกำแพงต่างสถาบัน และหลอมละลายพฤติกรรมไปในทางที่ดีและยั่งยืนยิ่งขึ้น
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
คำกล่าวของไอไสตน์ (อ้างในเธียร พานิช 2547 : 62) ที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" มีความหมายและเป็นคำกล่าวที่น่าสนใจ เนื่องจากความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนมากและมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก สอดคล้องกับการบรรยายของ Monroe (อ้างในพศิน แตงจวง 2543 :31) ผู้จัดการ Standard & Regulations ของบริษัท Hewlett-Packard ที่ว่า ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา 30 ปี เพื่อนชาวนาข้างบ้านต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลถึง 4 ครั้ง คือจากเป็นชาวนาที่ใช้แรงงานสัตว์ เป็นใช้เครื่องจักร ต่อมาเขาต้องเข้าตลาดหุ้นและล่าสุดเขาต้องใช้คอมพิวเตอร์และ internet ช่วยในการตัดสินใจว่าจะปลูกข้าวหรือปลูกพืชพันธุ์อะไรจึงจะเป็นที่ต้องการของตลาด ควรจะซื้อปุ๋ยจากที่ไหนจึงจะได้ราคาถูกและมีคุณภาพ นั่นคือชาวนาที่จะสามารถเจริญก้าวหน้าอยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างมีคุณภาพจะต้องมีจินตนาการใหม่ ปรับตัวง่าย และยอมรับว่าความรู้เก่า ๆ ใช้ประโยชน์น้อยมาก และเป็นที่น่าสนใจว่าเพราะเหตุใดชาวนาชาวอเมริกันจึงปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแตกต่างจากนักเรียนวัยรุ่นชาวอเมริกันที่มีพฤติกรรมสร้างความรุนแรงด้วยการฆ่าเพื่อนและแม้กระทั่งครูได้ สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ทราบทั่วไปว่าขบวนการขัดเกลาทั้งในโรงเรียนและสังคมในยุคก่อนของอเมริกามีความเอื้ออาทร แต่ต่อมาได้กลายเป็นสังคมการแข่งขัน ต่อสู้ โกงและหลอกลวงมากขึ้นดังจะเห็นได้จากกรณี Enron เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนักเรียนนักศึกษาหรือวัยรุ่นในประเทศไทยยังมีพฤติกรรมยกพวกตีกัน ทำร้ายร่างกายข้ามสถาบันกัน หรือตั้งแก๊งกวนเมือง สร้างปัญหาให้กับประชาชนทั่วไป
จากปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาได้ผลยิ่งขึ้น หลักสูตร การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ น่าจะต้องกลับมาทบทวนกันว่าในขณะที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาการทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะต้องไม่ลืมที่จะบูรณาการด้านคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปด้วยจนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนที่สังคมไทยและหมู่บ้านโลกจะเกิดการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นและไม่มีความสงบสุขมากไปกว่านี้
บรรณานุกรม
กองบรรณาธิการ สานปฏิรูป (2545). “เด็กไทยสายพันธุ์ใหม่ไร้ภูมิต้านทานทางอารมณ์” สานปฏิรูป.
ปีที่ 5 ฉบับที่ 54 กันยายน.
________ (2546). “การศึกษาไทยในมุมมองของไมเคิล ไรท์”. สานปฏิรูป. ปีที่ 6 ฉบับที่ 64 สิงหาคม.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2541). กระบวนทัศน์วัฒนธรรมไทย ต้นตอเศรษฐกิจถดถอย.
กรุงเทพฯ : บริษัทซัคเซสมีเดีย จำกัด.
ข่าวสด (2547). “ผงะคนติดเอดส์แค่ 2 อำเภอในพะเยากว่าแสน แฉกลุ่มเสี่ยงอายุแค่ 12 ถูกครอบครัว
ยากจนผลักออกไปขายตัว” 22 พฤษภาคม 2547.
จารุมา อัชกุล. (2543). การวิเคราะห์สถานภาพความสามารถในการแข่งขันของไทยในเศรษฐกิจโลก.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญ ทะศรีแก้วและคณะ (2547). การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544 และหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ของโรงเรียนใน
อำเภองาว จังหวัดลำปาง การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชยสาโรภิกขุ (2547). “ภูมิปัญญาพุทธดีกว่าตะวันตก” บทสัมภาษณ์ประจำฉบับ โดยกองบรรณาธิการ
สานปฏิรูป. ปีที่ 6 ฉบับที่ 69 มกราคม.
เธียร พานิช (2547). "เส้นทางแห่งความฝัน" สานปฏิรูป. ปีที่ 7 ฉบับที่ 71 มีนาคม.
ตามสถานการณ์ (2547). "อดิศัย ย้ำเข้าค่ายทหารแก้อาชีวะตีกันได้" สานปฏิรูป. ปีที่ 7
ฉบับที่ 71 มีนาคม.
ณัฐพล ชวลิตชีวิน และปราโมทย์ ศุภปัญญา (2546). เทคนิคการวัดผลงานสมัยใหม่. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดีย บุคส์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2543). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ :
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2000).
บทบรรณาธิการ ข่าวสด (2547). “การค้าเด็ก” ข่าวสด 23 พฤษภาคม 2547.
ประชาคมปฏิรูปการศึกษา (2547). "นักวิจัยชี้ปฏิรูปการเรียนรู้ยังไม่คืบหน้า" สานปฏิรูป. ปีที่ 7
ฉบับที่ 72 เมษายน.
พศิน แตงจวง (2543). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใน
ประเทศกลุ่ม APEC : กรณีศึกษาประเทศไทย. รายงานวิจัยเสนอคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
________(2547ก). Analysis of the working process: of the chain of values, of technological
change and stalemates, assessment of labour productivity and their factors, workers’
attitudes toward innovation. รายงานผลการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้จัดการฝ่ายบุคคล ณ IMAJ
นิคมอุตสาหกรรมลำพูน 28 พฤษภาคม.
________(2547ข). พัฒนาการของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. รายงานวิจัยเสนอคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พศิน แตงจวง อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์และต่าย เซี่ยงฉี (2545). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สำเร็จการศึกษาปี 2540-2544. รายงานวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการประเมิน
แผนพัฒนาระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544).
ภูมริน บุญทวี (2547). ปัจจัยทางครอบครัวและพฤติกรรมทางสังคมที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักศึกษา
โรงเรียนอาชีวะเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วารุณี (2000).
สมเกียรติ (2000).
สุมาลี ปิตยานนท์ (2545). แรงงานไทยกับนโยบาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ พศิน แตงจวงและต่าย เซี่ยงฉี (2547). การศึกษาเปรียบเทียบระบบการ
จัดการศึกษาแบบ ไตรภาคและแบบทวิภาค. รายงานการวิจัยเสนอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี.
อุทัย ดุลยเกษม (2547). "ปรารมภ์ เรื่องหลักสูตรแฝงในระดับอุดมศึกษา" สานปฏิรูป ปีที่ 7 ฉบับที่ 74
มิถุนายน.
Afkhampour, D. (2003). “Greek and Turkish Cypriots Create a Common Future”. Education for
Peace Newsletter. Vol. 1 No. 4 October.
CELS (2003). Preliminary Report on Social Actors' Perceptions on Education Reform in
Thailand. (Mimeographed).
Chandoevwit, W. (2004). “Labor Market Issues in Thailand” TDRI Quarterly Review. Vol. 19, No.2 June.
Davenport, T. (2543). Human Capital : What it is and Why People Invest it. แปลเรียบเรียง
โดย ศิระ โอภาสพงษ์. กรุงเทพฯ : เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส จำกัด.
Fitzapatrick, L. (2004). “Why are divorce rates hitting record levels across Asia?” TIME Vol. 163,
No. 13 April 5.
Luthans, F. (1977). Organizational Behavior. New York: McGraw-Hill Book Company.
Mounier, A. (2004). Review of International Literature: The Theoretical Framework. A
Complementation Paper for Wrap up Session, the 10th Workshop, on 19th April.
at CELS Office.
Polanyi, K. (1980). The Great Transformation. New York : Octagon Books.
Schneiter, J-J. (2004). Communication on Personnel Administration. at International Metal
and Jewelry Company Limited.Northern Regional Industrial Estate, Lamphun Province
on the 23rd April.
Tangchuang, P. (2001). "Concept and Practice of Knowledge-based Economies Promotions in Higher
Education Institutes". นำเสนอที่ประชุม ASAIHL จัด ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 20
กรกฎาคม 2544 และตีพิมพ์ในวารสาร ASAIHL- THAILAND Journal Vol.4 No.2
November, 2001.
__________ (2002). Some Contradictory Evidences of the Knowledge-based Economy in
Thailand. A paper presented at Geneva, Switzerland, 21-22 Nov. 2002.
___________ (2003). Bridging the Knowledge Gap Via Knowledge Networks Among
APEC Economies. A paper presented at APEC Study Center Consortium Conference
2003. at Phuket 25-28th May.
Tangchuang, P. and Mounier, A. (2002). “Thai Higher Education towards 2020: A Reappraisal in a
Historical perspective.” A Paper presented at ASAIHL Conference at rangsit University and
published in ASAIHL-Thailand Journal. Vol. 5 No. 2 December.
Tangchuang, P. ; Mounier, A. and Pongwart, A. (2004). Cooperative Skills Formation as a
Way of bridging the Knowledge Gap Through Regional Cooperation. A Paper
presented at ASAIHL Conference, 20th February at Sri Patoom University and published in
ASAIHL-Thailand Journal. Vol.7 No.1 May 2004
Wood, S. (1992). “The Transformation of Work?” in Wood, S. (Editor). The Transformation
of Work? : Skill, flexibility and the labour process. London : Routledge.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น